สวัสดีครับ วันนี้เราก็กลับมาไขข้อข้องใจผู้อ่านกันอีกแล้วครับ วันนี้ผมขอเอาใจเหล่าคุณแม่มือใหม่หรือเหล่าสาวๆที่วางแพลนวางจะปิดอู่หลังมีลูกครบตามที่ต้องการบ้างนะครับ กับในหัวข้อที่ว่า ”หลังทำศัลยกรรมนมนั้น เหล่าคุณแม่ทั้งหลายจะให้นมบุตรได้หรือไม่” นั้นเองครับ
ไขข้อข้องใจ2. หลังการผ่าตัดสามารถให้นมบุตรได้หรือไม่?
ตอบ ก่อนอื่นขออธิบายเรื่องการเปิดแผลเพื่อนำซิลิโคนเข้าไปก่อนนะครับ ว่าสามารถเข้าทางไหนได้บ้าง?โดยปกติในวงการการแพทย์ศัลยกรรมปัจจุบันนั้น การผ่าตัดเปิดแผลนำซิลิโคนเข้าไปได้4ทางด้วยกันครับโดย4ทางที่ว่ามีดังนี้
1.ทางปานนม (Areola) การทำผ่านปานนมมีข้อดีคือเห็นรอยแผลเป็นยากครับ เพราะรอยแผลเป็นจะถูกกลืนไปกับสีผิวของปานนมนั้นเอง แต่ข้อเสียของมันก็มีนั้นคือท่อน้ำนมจะถูกตัดผ่านเวลาที่ถูกตัดเฉือนเพื่อเอาปานนมออกชั่วคราวเพื่อเป็นทางเปิดนำเข้าซิลิโคนนั้นเอง และนั้นทำให้คนที่เลือกทำแบบนี้ไม่สามารถให้นมเลี้ยงลูกด้วยตัวเองและอาจหมดความรู้สึกในบริเวณนั้นได้ครับ
2. ทางราวนม(Infirmary) วิธีนี้เป็นที่นิยมในโซนยุโรป อเมริกามากกว่าครับ ด้วยลักษณะทางกายภาพของเขาเป็นแผลเป็นได้น้อยกว่าชาวเอเชีย แล้วเหล่าสาวๆนิยมทำแบบหยดน้ำกันเยอะเลยเหมาะที่จะเปิดแผลทางนี้กันมากกว่าครับ
3.ทางรักแร้(Transaxillary ) การเปิดแผลผ่านทางรักแร้นั้นไม่เหมาะกับทรงหยดน้ำครับ เพราะทรงหยดน้ำเรื่องการวางตำแหน่งมันต้องเป๊ะ! แล้วอีกอย่างคือจากระยะรักแร้ไปทรวงอกนั้นมันต้องผ่านการลัดเลาะผ่านกล้ามเนื้อหลายมัดเลยทำให้เบาะช้ำได้มากกว่า2วิธีแรกครับ (แล้วเป็นวิธีที่เจ็บที่สุด ถ้าสาวๆคนไหนเคยได้ยินว่าเจ็บเหมือนรถสิบล้อทับนั้น ก็คือการทำใส่ทางรักแร้นั้นเองครับ)
4.ทางสะดือ(TUBA) เป็นเทคนิคล่าสุดทางไต้หวันครับ ข้อดีคือไม่มีแผลเป็นอย่างแน่นอน100% แต่ลองคำนวณถึงระยะทางจากสะดือถึงทรวงอกนะค่ะ แค่คิดก็อืม….
จากข้อมูลเรื่องการเปิดแผลดังข้างบนมานี้ เหล่าสาวๆคงได้คำตอบแล้วนะครับว่าถ้าไม่ได้เลือกแบบผ่าเข้าทางปานนม พวกคุณๆทั้งหลายก็สามารถให้นมลูกได้อย่างปกติครับ แต่อีกสามวิธีที่เหลือก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นในลูกค้าแต่ละรายจะได้ทำวิธีไหนนั้นขึ้นอยู่กับกายภาพพื้นฐานเดิมของตนนั้นเองโดยจะมีหมอเป็นพูดพิจารณารูปร่างนั้นอย่างละเอียด แล้วจะเป็นผู้เลือกวิธีและขนาดถุงเต้านมให้นั้นเองครับ