การศัลยกรรมเสริมคาง (mentoplasty) ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยในกลุ่มคนที่มีปัญหาเรื่องโครงหน้าส่วนล่างมีความผิดปกติ เพราะกระดูกกรามล่างตรงด้านหน้าผิดรูปนั้นเอง เช่นบางคนเกิดมากระดูกด้านหน้ายื่นออกมาในลักษณะที่องศามากเกินไปก็จะเป็นลักษณะคางยื่นแบบเห็นได้ชัดเจน และอีกแบบหนึ่งที่พบไปคือคนที่คางสั้นเพราะกระดูกคางมันหดเข้าไปนั้นเอง เลยทำให้มองจากลักษณะภายนอกกลายเป็นคนมีคางนั้นเอง แต่ทุกปัญหาที่กล่าวไปนั้นไม่ค่อยเจอกับคนไทยครับ ปกติคางของคนไทยมักจะเป็นคางรูปป้าน เหลี่ยมแบนครับ ทำให้มีลักษณะสวยหล่อเป็นเอกลักษณ์กันดีอยู่แล้ว แต่เนื่องจากในปัจจุบันนั้นค่านิยมได้ถูกเปลี่ยนแปลงไป ตอนนี้คนส่วนใหญ่นิยมคางแบบเล็ก เรียว แหลมได้รูปนั้นเอง โดยเดียวนี้นิยมทำทั้งในผู้หญิง และชายกันมากขึ้น ดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเดียวผมจะมาพูดถึงการทำศัลยกรรมเสริมคางอย่างละเอียด ให้แก่ผู้สนใจอยากจะทำได้ศึกษากันอย่างละเอียด เพื่อใช้ในการตัดสินใจก่อนทำนั้นเองครับ
ผู้ที่เหมาะต่อการทำศัลยกรรมคาง
ใช่ว่าผู้ที่มีปัญหาคางสั้น-คางหลบ ทุกคนจะสามารถทำศัลยกรรมคางแล้วได้ผลดีเสมอไป ผู้ที่เหมาะสมต่อการทำศัลยกรรมคาง ยังต้องมีโครงสร้างส่วนของฟันและกรามที่มีความแข็งแรง และทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี รวมทั้งมีภูมิต้านทานร่างกายที่ดีพอ เพื่อป้องกันอาการอักเสบหรือติดเชื้อภายหลังการทำศัลยกรรมด้วย
นอกจากการศัลยกรรมเสริมคางแล้ว ในบางกรณีศัลยแพทย์อาจพิจารณาว่าให้ผู้ป่วยควรปรับแก้ไขรูปหน้าส่วนล่างโดยการฉีดฟิลเลอร์ร่วมด้วย เพื่อให้เห็นรูปคางที่ชัดเจนและสวยงามมากยิ่งขึ้น
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการศัลยกรรมเสริมคาง
-กินอาหารที่มีประโยชน์และดื่มน้ำมาก ๆ
-งดอาหารเสริมหรือยาที่มีคุณสมบัติเรื่องการแข็งตัวของเลือด ทั้งนี้คุณจำเป็นต้องแจ้งรายละเอียดแก่แพทย์ถึงยาและอาหารเสริมรวมทั้งสมุนไพรที่คุณรับประทานอยู่
-กินอาหารให้พออิ่มก่อนเข้ารับการศัลยกรรม เพราะหลังการศัลยกรรมแล้วมักกินอะไรไม่ได้มาก
-แปรงฟัน บ้วนปากให้สะอาด ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
ขั้นตอนการศัลยกรรมเสริมคาง
ในการทำศัลยกรรมเสริมคางแพทย์จะให้ยาสลบแก่ผู้ป่วย จากนั้นกระบวนการผ่าตัดจึงเริ่มต้นขึ้น วัสดุที่ใช้ในการเสริมคางเป็นซิลิโคนแท่ง ลักษณะคล้ายยางที่มีความยืดหยุ่น นำมาเหลาให้ได้รูปทรงที่รับพอดีกับคางของคุณการศัลยกรรมเสริมคางใช้เวลาราว 30-45 นาที แต่หากคุณทำศัลยกรรมเกี่ยวกับใบหน้าอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ศัลยกรรมยกกระชับผิวหน้า ศัลยกรรมริมฝีปาก ศัลยกรรมตาสองชั้น ฯลฯ เวลาที่ใช้ในการผ่าตัดก็ย่อมมากขึ้น
ศัลยแพทย์จะทำการเปิดผิวบริเวณด้านในปาก บริเวณด้านในของริมฝีปากล่าง ตั้งแต่ส่วนของเหงือกลงไปจนถึงส่วนของกระดูกคางด้านหน้า และทำการฝังและยึดซิลิโคนลงในตำแหน่งที่ได้วัดระยะอันเหมาะสมเอาไว้แล้ว จากนั้นจึงเย็บปิดแผลด้วยไหมละลาย ที่จะสลายไปเองได้ภายใน 10 วัo แต่หากเป็นกรณีที่ทำการเสริมคางไปพร้อม ๆ กับศัลยกรรมยกกระชับใบหน้า แพทย์จะสร้างรอยผ่าตัดที่บริเวณใต้คางเพื่อความสะดวกต่อการศัลยกรรมทั้งสองชนิด ซึ่งรอยแผลที่อยู่บริเวณนี้ก็สามารถซ่อนตัวจากสายตาได้เป็นอย่างดี นอกจากการศัลยกรรมเสริมคางแล้ว ยังมีการศัลยกรรมเกี่ยวกับคางอีกอย่างหนึ่ง คือ “การศัลยกรรมเลื่อนคาง” (sliding genioplasty หรือ chin advancement) มักทำในกรณีคนที่มีคางสั้นมาก ๆ และร่นไปอยู่ด้านหลังเยอะ ซึ่งหากใช้ซิลิโคนเสริมก็ต้องเป็นซิลิโคนชิ้นใหญ่ และดูไม่เป็นธรรมชาติ ศัลยแพทย์จะทำการเลื่อยกระดูกส่วนคางในแนวนอน และทำการเลื่อนตำแหน่งออกมาด้านหน้าจากนั้นจึงใช้น็อตพิเศษยึดเอาไว้ ก็จะทำให้ใบหน้าที่เคยดูอูมกลม กลับมาได้สัดส่วนและดูเรียวมีมิติมากขึ้น
ความเสี่ยงในการศัลยกรรมเสริมคาง
ริมฝีปากรู้สึกชา เนื่องจากมีแผลผ่าตัดอยู่ด้านในริมฝีปากล่าง ซึ่งอาการจะค่อย ๆ บรรเทาลงเองเมื่อเวลาผ่านไป
คางและบริเวณรอบ ๆ มีอาการบวม เจ็บ
การรับความรู้สึกที่บริเวณคางเปลี่ยนไป อาจเป็นได้ทั้งเพียงชั่วคราว หรือเกิดขึ้นถาวร
ซิลิโคนเลื่อนออกจากตำแหน่ง อันเกิดจากการกระทบกระเทือนที่บริเวณใบหน้า
เกิดการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด
การพักฟื้นหลังการทำศัลยกรรมเสริมคาง
-ในกรณีที่แผลผ่าตัดอยู่ภายในช่องปาก หลังการผ่าตัดผู้ป่วยควรกินอาหารเหลวหรืออาหารอ่อนที่ไม่ต้องเคี้ยวมาก เพื่อลดการกระทบกระเทือนของบาดแผล และบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากหรือน้ำเกลือทุกครั้งหลังกินอาหาร เพื่อไม่ให้เศษอาหารไปติดที่ปากแผล หรือเกิดการติดเชื้ออักเสบในกรณีช่องปากไม่สะอาด
-อาการปวดบวมที่บริเวณแผลสามารถเกิดขึ้นได้ใน 3-4 วันหลังการผ่าตัด แต่หากปวดมากผิดปกติควรกลับไปพบแพทย์ ซึ่งแพทย์อาจจ่ายยาแก้ปวดลดอักเสบ รวมถึงจ่ายยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันอาการติดเชื้อด้วย แต่หากเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับการผ่าตัด แพทย์อาจพิจารณานำซิลิโคนออกได้
-นอนในท่ายกศีรษะสูง ให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ไม่คั่งอยู่ที่บาดแผล
-งดการออกกำลังกายหรือกิจกรรมหนักเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนที่บริเวณใบหน้า
-สามารถกลับไปทำกิจกรรมเบา ๆ ตามปกติได้ภายใน 5-7 วัน